เสียใจระดับโศกสลดและเจ็บปวดรวดร้าว (Agony) เป็นระดับขั้นกว่าของความเสียใจ (Sadness) คือ ความโศกสลด
ภาพนี้คือเด็กสาวอายุ 5 ขวบ ชื่อ Shwe Yote Hlwar กำลังร้องให้กับศพพ่อที่ถูกทหารยิงตายในเดือนมีนาคม 2564 ที่ประเทศพม่า ภาพความเสียใจระดับนี้คือระดับสูงที่สุดที่มนุษย์เราจะแสดงออกมาในกลุ่มอารมณ์ความเสียใจ เหตุการณ์ที่จะให้คนเราเกิดความเสียใจระดับนี้ จะไม่พ้นความสูญเสียของคนในครอบครัว และสูญเสียไปแบบกระทันหัน เช่น เด็กน้อยที่สูญเสียพ่อ หรือ คุณแม่ที่สูญเสียลูก
อีกภาพคือภาพของ Bettye Shirley ที่สูญเสียลูกชายไป (ถูกฆาตกรรม)
ถอดรหัสภาษากาย Shwe Yote Hlwar & Bettye Shirley
จะเห็นได้ว่าภาษากายของสองภาพนี้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นคิ้ว (inner eye brow raise) เปลือกตาบน (draw up of inner corner of the upper eyelid) มีรอยย่นระหว่างคิ้ว มุมปากตก และแก้มยก
สองภาพนี้คือครบทุกองค์ประกอบบนใบหน้า (Facial expression) ของความเสียใจ (High intensity of Sadness / Agony)
ทั้งนี้ ถ้าความเสียใจนั้นไม่รุนแรง (Low intensity) บนใบหน้าก็อาจจะแสดงความเสียใจในดีกรีที่น้อยกว่า และหลายครั้งอาจะปะปนกับอารมณ์อื่นๆด้วย เช่น ความกลัว (Fear) และความโกรธ (Anger)
ภาพเหล่านี้ ไม่ว่าใครเห็นก็คงสะเทือนใจมาก และรู้สึกเสียใจตามอัตโนมัติ เพราะอารมณ์ที่แสดงออกผ่านใบหน้า สามารถสื่อถึงกันได้เสมอ
แม้แต่ผม ณ วินาทีที่กำลังพิมพ์บทความนี้ ก็ยังรู้สึกมีอารมณ์เศร้าร่วมด้วยเลย
แม้จะเป็นบทความที่เศร้า แต่หวังว่าจะได้เรียนรู้ร่วมกันนะครับ
หมอมด (ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์)
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น บุคคลอ้างอิงในเวปไซด์จะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube) เป็นต้น การตีความและอธิบายภาษากายไม่มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุน หรือ ละเมิด กับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น