กันยายน 2, 2023

ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 165 : คุณแอน จักรพงษ์ ครั้งแรกที่ต้องออกมาชี้แจงการ*ปรับวัน*ชำระหุ้นกู้ JKN239A

https://www.youtube.com/watch?v=PVrjVc2zbCE

คุณแอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ออกมา ชี้แจงการเลื่อนกำหนดชำระหุ้นกู้ของบริษัทชุดที่ 2/2563 ชื่อชุด JKN239A  ที่จะครบกำหนดชำระในวันที่ 1 กันยายน 2566

ภาษากายของผู้นำองค์กรเป็นเคสที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะการออกมาชี้แจงเหตุการณ์ หรือ เรื่องราวต่อสาธารณะชนที่มีความละเอียดอ่อนสูงและกระทบความเชื่อมั่น ซึ่งเจ้าตัวจะต้องแบกรับความเครียดและความกดดันเสมอ จึงเป็น Setting ที่น่าเรียนรู้ของภาษากาย ทำให้ VDO ชุดนี้ก็มีสิ่งที่น่าเรียนรู้

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้อันเป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชนในการเรียนรู้ศาสตร์ภาษากาย (Non-verbal communication / Body Language ) อันได้แก่ข้อมูลที่สื่อสารออกมาจากมนุษย์ทุกอย่างนอกเหนือจากคำพูดทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว (Concious / Unconcious) จึงเป็นชุดของข้อมูล (Information) ทางพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาที่สำคัญอันสามารถนำไปประยุกต์ตีความฐานะผู้สังเกตการณ์ และนำไปประเมินกับเหตุการณ์ที่ปรากฏอย่างไรเท่านั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อตัดสินสิ่งใด 

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์

illustrator
illustrator + finger pinch

นาที 0:33-0:39 “หัวข้อวันนี้ สั้นๆเลย คือปรับวัน(*)รับชำระบอนด์นั่นเอง แค่ปรับวัน(*) นะคะ”

ในจังหวะที่พูดคำว่า “ปรับวัน” ทั้งสองครั้ง คุณแอนใช้มือเพื่อประกอบการพูด (illustrator) ในลักษณะ finger pinch หรือ จีบนิ้ว

การใช้มือประกอบในการพูด จะช่วยให้ประสิทธิภาพในการสื่อสารชัดเจนและดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะเวลาต้องสื่อสารเรื่องสำคัญ ต้องการย้ำ ต้องการสร้างความเชื่อมโยงและดึงดูดอารมณ์และความรู้สึก

คุณแอบใช้ลักษณะการจีบนิ้วเพื่อย้ำคำว่า “ปรับวัน” เป็นการ Reframing เพื่อให้สื่อถึงความหมายว่าเป็นการเลื่อนวันจ่าย หรือ ปรับวัน(ออกไป) ซึ่งต่างจากสื่ออื่นๆ เช่น ไม่มีตังค์จ่ายเงินกู้ ผิดนัดจ่ายหนี้ เบี้ยวหนี้หุ้น ฯลฯ ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายในแง่ลบและส่งผลเสียภาพลักษณ์

อีกทั้งการใช้ว่า “แค่ปรับวัน” สามารถสะท้อนได้ว่าเจ้าตัวต้องการ minimize สถานการณ์ ในทำนองว่าสถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายและเขามีความสามารถที่จะรับมือ

การจีบระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ (finger pinch) ท่านี้คล้ายกับการใช้นิ้วชี้ (Pointing with index finger) จะมีความหมายในเชิง Alpha หรือ มีความมั่นใจสูง แสดงถึงการสั่งการ ควบคุม แต่มี intensity ที่ต่ำกว่านิ้วชี้

illustrator + finger pinch

นาที 0:44 จะพบมือประกอบอีกครั้งตอนพูดคำว่า “ปรับวัน”

ไม่ถึง 1 นาทีคุณแอนแสดงภาษากายเดิมแบบเดิมถึง 3 ครั้ง 3 คราในคำพูดเดิม

การทำซ้ำของคำพูดและภาษากาย (Pattern) ทำให้ตอกย้ำว่าเธอให้ความสำคัญจนดูแล้วมากเกินไป (Exaggeration) กับคำว่า “ปรับวัน”

illustrator

ช่วงนาทีที่ 1:38 – 1:52 เป็นช่วงที่อธิบายถึงการคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย คุณแอนใช้มือประกอบได้ดีมากเพราะสอดคล้องกับสิ่งที่พูดเหมาะเจาะ เป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้มือประกอบ

illustrator + finger pinch

นาที 2:08 – 2:11 “ฟังให้ดีเลยนะคะ กำหนดวันที่จะชำระเงิน อย่างแน่นอน”

คุณแอนแสดงภาษากายเหมือนที่ผมเพิ่งกล่าวมา โดยเนื้อหาใจความคือบริษัทเอเชียพลัส ซีเคียวริตี้ จะเรียกประชุมและบอกวันที่จะชำระหนี้ (แต่ตอนนี้ยังไม่กำหนดว่าเมื่อไหร่)

illustrator + pointing with index finger

นาที 4:38 คุณแอนชี้นิ้วเป็นมือประกอบตอนพูดว่า “ปรับวัน” อีกแล้วดังที่อธิบายไป

ตอกย้ำว่าเธอให้ความสำคัญมากเกินไป (Exaggeration) กับคำว่า “ปรับวัน”

นาที 5:21 – 5:31 ส่วนที่เหลือ ตัวแทนผู้ถือหุ้นกู้จะเป็นคนดูแล และระบุ อย่างรวดเร็วที่สุด …(*)… อย่างดีที่สุด และอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด”

ในจังหวะ (*) เกิดภาษากายต่อไปนี้

  • หยุดพูดจนเกิดช่วงว่าง (Dead air) จนสังเกตได้ชัด การหยุดพูด หรือ ตะกุกตะกัก ส่วนนี้อาจจะลดทอนความน่าเชื่อถือของสิ่งที่พูดเมื่อเทียบกับการพูดที่ไหลลื่น คล่องแคล้ว
  • มือที่เป็นมือประกอบที่ทำท่าหั่นหมู (Hand chop) แต่ทำทั้งที่หยุดพูด เกิดสภาวะความไม่เข้ากันของภาษาพูดและภาษากาย
  • หลับตานาน (Prolong eye closue) เป็นการหลบตาแบบหนึ่ง (Dininished eye contact) มักจะพบเวลามีความรู้สึกที่ไม่ชอบ (Dislike) หรือ อึดอัดใจ  หรือการพยายามคิดหาคำตอบ

จะสังเกตได้ว่าเกิดสภาวะที่เรียกว่าความไม่เข้ากันของภาษาพูดและภาษากาย จึงทำให้ในจังหวะนี้อาจทำให้ลดทอนน้ำหนักของประโยคที่พูดว่าจะระบุวันให้รวดเร็วที่สุด

Prolong eye closue

10:10 – 10:22 “ถ้ามีความพึงพอใจ ที่จะได้รีเทรินเหมือนเดิม ก็สามารถจะติดต่อได้ และติดต่อเข้ามากัน เรียกได้ว่า (*) จำนวนเงินเกือบร้อยล้านบาทแล้วด้วยซ้ำไป”

จังหวะ (*) จะพบมีการหลับตานาน (Prolong eye closue) เป็นการหลบตาประเภทหนึ่ง (Dininished eye contact) มักจะพบเวลามีความรู้สึกที่ไม่ชอบ (Dislike) หรือ อึดอัดใจ  

ในจังหวะนี้จึงน่าวิเคราะห์ว่าทำไมมีการแสดงภาษากายของความไม่แน่นอนออกมาในประโยคที่ควรจะต้องแสดงความมั่นใจ ความไม่เข้ากันของภาษากายนี้ทำให้ลดน้ำหนักและความน่าเชื่อถือของประโยคที่พูด

สรุป

นักวิเคราะห์หลายคน ก็กังวลถึงสถานะภาพทางการเงินและการดำเนินธุรกิจของ JKN เพราะเป็นธุรกิจที่กำลังโดน Disrupt อย่างหนัก บางคนใช้คำว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่อยู่ใน Trend ขาลง และมีบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจประเภทเดียวกันก็ประสบปัญหากันค่อนข้างมากอยู่ทั่วโลก

เชื่อว่าคุณแอนเองก็กำลังเจอสภาวะที่ท้าทายมาก สังเกตได้จากการที่เขาพูดว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ต้องมาชี้แจงอะไรแบบนี้

คุณแอนจักรพงษ์ เป็นคนที่มีบุคลิกที่ดีและมีความมั่นใจ บทความนี้เราก็ได้เรียนรู้ถึงภาษากายในแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีความอ่อนไหวและส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน

คำถาม : จากภาษากาย หลังจากดูคลิปการชี้แจ้งของ CEO คุณมีความเชื่อมั่นเพียบใด ?

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube)ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *