กรกฎาคม 18, 2022

ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 105 : เรนิตา เวโรนิก้า ปากาโน ภาษากายของความตื่นเต้นและมั่นใจ

วีดิโอนี้ทางแฟนคลับผมได้ส่งมาให้ช่วยวิเคราะห์ เป็นรายการประกวด Miss Universe Thailand 2022 (มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2022) ที่ฉายโดย PPTV ตลอดเดือนกรกฎาคม 2565 ในวีดิโอนี้มีสิ่งที่น่าเรียนรู้หลายประเด็นเกี่ยวกับภาษากายตอนตอบสัมภาษณ์

เป็นที่ทราบกันว่าในเวทีประกวดนางงามจะมีการอบรมและติวเข้มเรื่องบุคลิกภาพให้แก่ผู้เข้าแข่งขันทุก ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นการยิ้ม การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทางตอนเดินและการยืน เป็นต้น

คำถาม คือเราจะยังสามารถสังเกตภาษากายที่สะท้อนอารมณ์และความรู้สึกได้หรือไม่ แม้ว่าทุกคนจะอยู่ในบทบาทของการแสดง (Acting / Presenting) เพื่อประกวดแข่งขัน

เคสนี้ในวีดิโอจะเป็นการสัมภาษณ์ของคุณ เรนิตา เวโรนิก้า ปากาโน (เรเน่) อดีตนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้อันเป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชนในการเรียนรู้ศาสตร์ภาษากาย (Non-verbral communication / Body Language ) อันได้แก่ข้อมูลที่สื่อสารออกมาจากมนุษย์ทุกอย่างนอกเหนือจากคำพูดทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว (Concious / Unconcious) จึงเป็นชุดของข้อมูล (Information) ทางพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาที่สำคัญอันสามารถนำไปประยุกต์ตีความฐานะผู้สังเกตการณ์ และนำไปประเมินกับเหตุการณ์ที่ปรากฏอย่างไรเท่านั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อตัดสินสิ่งใด 

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์
3:10 – 3:48 ภาษากายของ เรนิตา เวโรนิก้า ปากาโน (เรเน่) เรียงลำดับตามเลขในภาพ

3:10 ถึง 3:48 กรรมการถาม “องค์กรนิสิตจุฬาฯบอกว่าปีนี้จะไม่มีทั้ง CU เชียร์ลีดเดอร์ และจุฬาฯคทากร ไปร่วมงาน CU เฟริ์สเดท ในฐานะที่คุณเคยเป็นจุฬาฯคทากร คุณคิดเห็นกับเรื่องนี้ยังไง” จะพบภาษากายดังนี้

จากวีดิโอตลอดช่วง 3:10 ถึง 3:48 จะพบลักษณะการใช้มือหลากหลายรูปแบบ เรียงลำดับตามเลข 1 ถึง 14 ดังนี้

(ภาพจะเรียงแบบงูเลื่อยวนเป็นเส้นต่อเนื่องเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของภาษากายที่ต่อเนื่อง)

  • ภาพ 1 จะเป็นลักษณะการกุมมือที่เราคุ้นเคย ซึ่งผู้เข้าประกวดนางงามไม่ว่าเวทีไหนก็มักจะยืนในท่าประสานมือแบบนี้
  • ภาพที่ 2 ถึง 4 จะพบมือที่กุมนั้นไม่ได้อยู่นิ่ง ๆ แต่มีการคลึง ถู และนวดไปมา (Pacifying) เป็นลักษณะที่พบบ่อยเวลาตื่นเต้น หรือ ประหม่า (Anxiety) และการคว่ำมือ กุมมือยังมักมีความหมายถึงความมั่นใจต่ำ (Low confident) เป็น Beta posture
  • ภาพที่ 5 และ 6 จะพบการใช้มือในลักษณะ illustrator หรือ มือประกอบ ทำให้จังหวะนี้ดูกลมกลืน สอดคล้อง จริงใจ มั่นใจ และดูเปิดเผยมากขึ้น
  • ถัดมาติด ๆ ในภาพที่ 7 ถึง 9 จะพบว่ามือกลับมาเป็น Beta posture อีกครั้ง
  • ในจังหวะภาพหมายเลข 10 ก็กลับมา Alpha และ 11 ถึง 12 ก็กลับวนมา Beta อีก เช่นเดียวกับ 13 และ 14

ตลอด 38 วินาทีนี้จะมีการผสมกันของอารมณ์ หรือ ตีรวน (Mixture of Emotions / Fighting feelings) สะท้อนความตื่นเต้น กังวล ประหม่าและมั่นใจสลับไปสลับมา แต่ถ้าจะพิจารณาโดยรวมจะพบว่าสัดส่วนของภาษากายที่แสดงออกมาจะหนักไปทาง Beta มากกว่า Alpha

3:50 – 4:32 ภาษากายของ เรนิตา เวโรนิก้า ปากาโน (เรเน่) เรียงลำดับตามเลขในภาพ

นาที 3:50 กรรมการถามต่อว่า “คุณเรเน่คิดยังไงกับบิ้วตี้ พริวิเรจ คะ (Beauty Privilege)” จะพบการใช้มือที่คล้ายคลึงกับช่วงต้นที่สลับไปสลับมาระหว่าง Beta & Alpha และมีการใช้มือที่น่าสนใจดังนี้

  • ภาพที่ 2 จะพบ illustrator ลักษณะ Reverse sphere indigitated fingers เป็น Beta & Alpha hybrid ซึ่งมีลักษณะที่ less sincere กว่า Power Sphere หรือ Basket ball grip ที่วางมือตรงข้ามกัน
  • ภาพที่ 10 เป็นทาง Pseudo prayer หรือ ท่าพนมมือที่มือชี้มาทางด้านหน้า (Forward) ท่านี้จะต้องระวังและไม่ควรทำ เพราะมีความหมายในเชิงคุกคาม (Intiminate)
นาที 4:32 suppress smile & Forward lip purse

หลังการสัมภาษณ์จะพบการยิ้มที่กลั้นเอาไว้ (Suppressed smile) ร่วมกับการเกร็งปากจู๋ (Forward lip purse) เป็นการเกร็งริมฝีปาก ดูคล้ายการทำปากจู๋ สังเกตลักษณะริมฝีปากจะเกร็งและยื่นมาทางด้านหน้าเล็กน้อย เป็นภาษากายที่มีพบเมื่อจะ ซ่อน หรือ ปกปิดความจริง หรือ ซ่อนเจตนาอะไรบางอย่างไว้ (Holding back information)

สรุป

ในเวทีประกวดนางงาม แม้ผู้เข้าร่วมจะถูกฝึกและสอนให้วางบุคลิกภาพให้มีภาพลักษณ์ตามลักษณะรูปแบบ (Pattern) ของการเป็นนางงามในอุดมคติ คล้ายกับฝึกฝนและท่องบทเพื่อเข้าฉากเล่นบนละครเวที ทำให้การกระทำและคำพูดคล้ายกับการแสดงรูปแบบนึง เช่น การแสดงของดาราในละครทีวี หรือ ละครเวที ทั้งนี้เราก็จะยังสามารถอ่านภาษากายที่ปรากฎและแยกแยะให้เห็นภาษากายที่เป็นธรรมชาติที่สะท้อนออกมาโดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัว (Unconcious) ได้เสมอ โดยเฉพาะการสัมภาษณ์สดในคำถามที่เจ้าตัวไม่ได้เตรียมตัวที่จะตอบมา

ขอเป็นกำลังใจให้ผู้เข้าประกวดทุกท่านครับ

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฏในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube)ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *